ประกาศกระทรวงสาธารณสุข


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข  เรื่อง  ยาอันตราย

 

 

ตารางรายการยาที่เป็นยาอันตราย

ลำดับ ตำรับยา/ตัวยาสำคัญ

ประกาศฯ เรื่อง ยาอันตราย

(วันที่ลงนาม)

(78)  ยาไนมิซุไลด์ (Nimesulide) ชนิดใช้ภายนอก

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 26 (13 พ.ย. 55)

(77)  ยาราซีคาโดทริล (Racecadotril) ที่ใช้สำหรับอาการท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 25 (14 พ.ค. 55)

(76)  ยากลุ่มรักษาโรคนิ่วในไต

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 23 (28 ก.ค. 54)

(75)   ยากลุ่มที่มีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบ ที่ใช้รักษาภาวะผิดปกติเนื่องจากโรคตับ

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 23 (28 ก.ค. 54)

(74)  ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคตินซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ ยกเว้นรูปแบบหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (chewing gum) และรูปแบบแผ่นแปะ (transdermal patch)

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 19 (6 ก.ค. 48)

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 30 (26 ต.ค. 61)

(73)  ยากลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) ที่ใช้ภายนอก

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 11 (31 พ.ค. 36)

(72)  ยาจำพวกที่ออกฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Gastrointestinal antimotility agents) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 9 (10 ก.พ. 35)

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 13 (14 ต.ค. 44)

(71) 

ยาจำพวกที่มีส่วนประกอบของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat-soluble vitamins) สำหรับใช้ภายใน ได้แก่ วิตามิน เอ (Vitamin A) วิตามิน ดี (Vitamin D) วิตามิน อี (Vitamin E) วิตามิน เค (Vitamin K) ยกเว้น

     (71.1) วิตามิน เอ (Vitamin A) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 5,000 หน่วยสากล (I.U.) หรือ 1.5 มิลลิกรัม

     (71.2) วิตามิน ดี (Vitamin D) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 1,000 หน่วยสากล (I.U.) หรือ 25 ไมโครกรัม

     (71.3) วิตามิน อี (Vitamin E) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 300 มิลลิกรัม

     (71.4) วิตามิน เค หนึ่ง (Vitamin K1 : Phylloquinone) และ/หรือ วิตามิน เค สอง (Vitamin K2 : Menaquinone) ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับหรือต่ำกว่า 120 ไมโครกรัม

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 8 (26 ส.ค. 34),

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 21 (8 เม.ย. 51)

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 35 (25 เม.ย. 67)

(70) ยาจำพวกที่มุ่งหมายสำหรับใช้บำบัด บรรเทา หรือรักษาสิวหรือฝ้า

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 7 (10 ก.ค. 34)

(69)  ยาจำพวกกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม (Hair Growth Stimulant) ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญไมน๊อกซิดิล (Minoxidil)

เพิ่มเติมโดย

ฉบับที่ 6 (19 ธ.ค. 31)

(68) ยาจำพวกใช้ถนอม (Preservatives) และยาจำพวกทำให้คงตัว (Stabilizers) ยกเว้นที่มีปริมาณตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศเพื่อความมุ่งหมายในการถนอมหรือการทำให้คงตัว ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(67) 

ยาที่รัฐมนตรีประกาศยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช 2465 ยกเว้น

     ก. ทิงเจอร์ฝิ่นการบูรที่ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือที่เป็นส่วนผสมในยาสามัญประจำบ้าน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุยาสามัญประจำบ้าน

     ข. ยาที่มีทิงเจอร์ฝิ่นการบูรเป็นส่วนผสมไม่เกินสองมิลลิลิตรต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(66)  ยาฉีดทุกชนิด รวมทั้งน้ำกลั่นที่ใช้สำหรับฉีด  ยกเว้นรายการยาที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 34 (26 ก.ค. 62)

(65)

โปโดฟิลลุมเรซิน (Podophyllum resin)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(64)  แอนทราลิน (Anthralin) หรือไดทรานอล (Dithranol) คริสซาโรบิน (Chrysarobin) ยกเว้นที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(63)

ฟีนอล (Phenol) ฟีนอลอย่างเหลว (Liquefied Phenol) ยกเว้นฟีนอลไม่เกินร้อยละ 5 ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(62)  โปแตสเซียมฮัยดร๊อกไซด์ (Potassium hydroxide) โซเดียมฮัยดร๊อกไซด์ (Sodium hydroxide) ยกเว้นยาปรุงสำเร็จที่มียาเหล่านี้

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(61) 

น้ำยาแอมโมเนียอย่างแรง (Strong Ammonia solution) ยกเว้นยาปรุงสำเร็จที่มียาเหล่านี้

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(60)  เกลืออนินทรีย์ของเงิน (Inorganic salts of Silver) ยกเว้นที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(59) 

กรดซาลิซีลิค (Salicylic acid)  ยกเว้นที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(58)  กรดโครมิค (Chromic acid) โครเมียมไทรอ๊อกไซด์ (Chromium trioxide)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(57)

กรดไทรคลอโรอะซีติค (Trichloroacetic acid)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(56)  กรดแร่ต่างๆ (Mineral acids) ยกเว้นกรดแร่อย่างเจือจางที่เป็นยาปรุงสำเร็จตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ 

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(55) 

กรดเกลเซียลอะซีติค (Glacial acetic acid) กรดอะซีติค (Acetic acid) ยกเว้นยาปรุงสำเร็จที่มียาเหล่านี้

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(54)  ยาจำพวกสกัดสำหรับทดสอบภูมิแพ้ (Allergenic extracts)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(53) 

ยาจำพวกที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค (Diagnostic agents)  ที่ใช้โดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(52)  ยาจำพวกสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย (Immunizing agents)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(51) 

ยาจำพวกห้ามเลือด (Hemostyptics) ยกเว้นสำหรับใช้เฉพาะที่

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21
(50) ยาจำพวกกันเลือดแข็ง (Anitcoagulants) ยกเว้นยาจำพวก Mucopolysaccharide polysulfate ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ภายนอก

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 2 (13 ก.พ. 29)

(49)

ยาจำพวกแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (Antinauseants, antiemetics and motion sickness control drugs) ยกเว้นไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัมที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30)

(48) ยาจำพวกฆ่าเหา (Pediculicides) และฆ่าเชื้อหิด (Scabicides) ยกเว้นยาที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(47)

ยาจำพวกรักษาโรคหนอนพยาธิ์ (Anthelmintic drugs) ยกเว้น

     ก. ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จตามประกาศยาสามัญประจำบ้าน

     ข. มีเบนดาโซล (Mebendazole) ขนาด 100 มิลลิกรัม หรือ 500 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด 

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 3 (14 พ.ค. 29),

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30)

(46) ยาจำพวกฆ่าเชื้อไวรัส (Antiviral drugs) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 14 (3 ก.พ. 45)

(45)

ยาจำพวกฆ่าเชื้อรา (Antifungal drugs) ยกเว้นสำหรับใช้เฉพาะที่

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(44) ยาจำพวกฆ่าเชื้อโปรโตซัว (Antiprotozoal drugs) ยกเว้นรายการยาที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 33 (25 ก.พ. 62)

(43)

ยาจำพวกรักษาโรคบิดชนิดอะมีบิค (Amoebiacides) ยกเว้นรายการยาที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 33 (25 ก.พ. 62)

(42) ยาจําพวกป้องกันและรักษามาลาเรีย (Antimalarial drugs)

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 29 (25 ก.ย. 60)

(41)

ยาจำพวกรักษาวัณโรค (Antituberculous drugs)

ยกเลิกโดย

ฉบับที่ 34 (26 ก.ค. 62)

(40)

ยาฆ่าเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะ (Urinary antiseptics) ยกเว้นเฮกซามีน (Hexamine) และเกลือของเฮกซามีน (Salts of Hexamine)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(39) ยาจำพวกรักษาโรคเรื้อน (Antileprotic drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(38)

ยาจำพวกปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยกเว้น

     ก. สำหรับใช้เฉพาะที่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาจำพวกเพนิซิลลิน

     ข. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 15 (4 มิ.ย. 45),

ฉบับที่ 29 (25 ก.ย. 60)

(37)

ยาจําพวกซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ยกเว้น

     ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 28 (30 ม.ค. 60),

ฉบับที่ 29 (25 ก.ย. 60)

(36)

เฮกซาโคลโรฟีน (Hexachlorophene) ที่เกินร้อยละ 0.75 

น้ำยาซาโปเนทเต็ดครีโซล (Saponated cresol solution) 

น้ำยาฟอร์แมลดีไฮด์ (Formaldehyde solution)

เมอคิวรี่ไบคลอไรด์ (Mercury bichloride)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(35)

ยาจำพวกฆ่าเชื้อโรคเฉพาะที่ (Local anti-infective agents, Antiseptics disinfectants or germicides) ยกเว้น

     ก. เฟนิลซาลิซีเลท (Phenyl salicylate) 

     ข. สำหรับใช้เฉพาะที่

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(34)

ยาจำพวกกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system stimulants) รวมทั้งยาทำให้เบื่ออาหาร (Anorexigenics) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาจำพวกอะนาเล็พติค (Analeptics) นักซ์วอมิกา(Nux Vomica) และแอลคาลอยด์ของนักซ์วอมิกา (Nux Vomica Alkaloids) ยกเว้น ยาบรรจุเสร็จที่มีนักซ์วอมิกา (Nux Vomica preparations) เทียบเท่ากับสตริ๊กนินในขนาดรับประทานไม่เกินมื้อละ 1.2 มิลลิกรัม

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(33)

ยาจำพวกแซนธีน (Xanthines) ยกเว้น

     ก. แคฟเฟอีน (Caffeine) ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ

     ข. อะมิโนฟิลลีน (Aminophylline) ขนาด 100 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

      ค. ทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส (Theophylline anhydrous) ขนาด  60 – 150 มิลลิกรัม ผสมกับเอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ephedrine hydrochloride) ขนาด 15 – 50 มิลลิกรัมที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด 

[ปัจจุบันจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2]

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30)

(32)

ยาจําพวกฮิสตามีน และแอนติฮิสตามีน (Histamine and antihistamine drugs) ยกเว้น 

     ก. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

     ข. ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

     ค. คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 2 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

     ง. คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine maleate) ขนาด 1-2  มิลลิกรัมผสมกับพาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาด 300 - 500 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

     จ. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลกรัมหรือบรมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ผสมกับฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัมที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 17 (19 ส.ค. 45),

ฉบับที่ 24 (16 ก.ย. 54),

ฉบับที่ 32 (22 ม.ค. 62)

(31)

ยาจำพวกลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (Non–steroids anti–inflammatory drugs)

ยาจำพวกลดกรดยูริค (Uricosuric drugs) 

ยาจำพวกรักษาโรคข้ออักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (Non-steroids anti-arthritic-drugs) ยกเว้น

     ก. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

     ข. ที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

     ค. แอสไพริน (Aspirin) หรือเกลือของแอสไพริน 

     ง.  โซเดียมซาลิซีเลท (Sodium Salicylate)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(30)

ยาจำพวกบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้ (Analgesics or Antipyretics)  ยกเว้น

     ก. แอสไพริน (Aspirin) ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จ และมีข้อบ่งใช้บรรเทาปวดโดยมีรายละเอียดของความแรง รูปแบบยา บรรจุภัณฑ์ ขนาดบรรจุ การแสดงฉลาก การแสดงเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนและเอกสารกำกับยาสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะตามที่กำหนดท้ายประกาศฉบับนี้

     ข. ฟีนาซีติน (Phenacetin)

     ค. โซเดียมซาลิไซเลท (Sodium Salicylate)

     ง. ซาลิไซลาไมด์ (Salicylamide) 

     จ. อะเซตามิโนเฟน หรือ พาราเซตามอล (Acetaminophen or Paracetamol)

     ฉ. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 12 (30 มี.ค. 37),

ฉบับที่ 22 (8 ก.ค. 51)

(29)

ยาจำพวกกระตุ้นประสาทไซโคมอเตอร์ (Psychomotor stimulants) นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(28)

ยาจำพวกสงบประสาท (Tranquilizing drugs)  นอกจากที่ประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 18 (22 เม.ย. 46)

(27)

ยาจำพวกรักษาลมบ้าหมู (Antiepileptics) หรือยารักษาอาการชัก (Anticonvulsants)  นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(26)

ยาจำพวกระงับประสาทและทำให้นอนหลับ (Sedatives and hypnotics) นอกจากที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(25)

ยาจำพวกทำให้ชาเฉพาะที่ (Local Anesthetics) ยกเว้น

     ก. น้ำมันกานพลู (Clove oil) ที่ใช้สำหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด

     ข. ยูจีนอล (Eugenol) ที่ใช้สำหรับใส่ฟันเพื่อแก้ปวด

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(24)

ยาจำพวกฮอร์โมนของอัณฑะ (Testicular hormones) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งยาจำพวกอนาบอลิค (Anabolic drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(23)

ยาจำพวกฮอร์โมนของรังไข่ (Ovarian hormones) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์ ยกเว้น

     ก. เอทินิลเอสตราไดออล (Ethinylestradiol) ขนาด 0.03-0.05 มิลลิกรัม ผสมกับนอร์เจสตรีล (Norgestrel) ขนาด 0.25-0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล (Levonorgestrel) ขนาด 0.125-0.25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน (Norethisterone) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน อะซีเตต (Norethisterone acetate) ขนาด 1.0 -2.5 มิลลิกรัม หรือ ไลเนสตรีนอล (Lynestrenol) ขนาด 1.0-2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

      ข. เมสตรานอล (Mestranol) ขนาด 0.03 - 0.05 มิลลิกรัมผสมกับนอร์เจสตรีล (Norgestrel) ขนาด 0.25 - 0.5 มิลลิกรัม เลโวนอร์เจสตรีล (Levonorgestrel) ขนาด 0.125  - 0.25 มิลลิกรัม นอร์เอทิสเตอโรน (Norethisterone) ขนาด 1.0 - 2.5 มิลลิกรัม หรือไลเนสตรีนอล (Lynestrenol) ขนาด 1.0 - 2.5 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 5 (13 ก.ย. 31)

(22)

ยาจำพวกแอนติธัยรอยด์ (Antithyroid drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(21)

ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ (Thyroid hormones) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(20)

ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมพาราธัยรอยด์ (Parathyroid hormones) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(19)

ยาจำพวกฮอร์โมนของตับอ่อน  (Pancreatic  hormones) รวมทั้งยาจำพวกที่ใช้รับประทานเพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง (Oral hypoglycemic drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(18)

ยาจำพวกคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ที่ได้จากธรรมชาติ หรือที่ได้จากการสังเคราะห์สำหรับใช้เฉพาะที่

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(17)

ยาจำพวกฮอร์โมนของต่อมปิตูอิตารี (Pituitary hormones)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(16)

ยาจำพวกกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก (Oxytocic drugs) ยกเว้นที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 16 (30 ก.ค. 45)

(15)

ยาจำพวกขับปัสสาวะ (Diuretic drugs) ยกเว้น

     ก. ยาขับปัสสาวะจำพวกออสโมติค (Osmotic diuretic drugs)

     ข. อูวาเออร์ซี (Uva Ursi)

     ค. บูชู (Buchu)

     ง. ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) ขนาด 50 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30)

(14)

ยาจำพวกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง (Centrally acting muscle relaxants) รวมทั้งยารักษาอาการโรคปาร์กินสัน (Antiparkinson drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(13)

ยาจำพวกสกัดกั้นประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular blocking drugs) 

[ยากลุ่มนี้เปลี่ยนสถานะเป็นยาควบคุมพิเศษ]

ยกเลิกโดย

ฉบับที่ 13 (14 ต.ค. 44)

และเพิ่มเติมใน

ประกาศยาควบคุมพิเศษ 

ฉบับที่ 23 (30 ก.ค. 44)

(12)

ยาจำพวกสกัดกั้นโคลิเนอร์ยิค (Cholinergic blocking drugs) ทั้งที่ได้จากพฤกษชาติและที่ได้จากการสังเคราะห์รวมทั้งแอลคาลอยด์และเกลือของแอลคาลอยด์ที่ได้จากพฤกษชาติเหล่านั้น ยกเว้น

     ก. ยาสกัดเบลลาดอนนา (Belladonna  Extract) ทิงเจอร์เบลลาดอนนา (Belladonna Tincture) ยาสกัดไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Extract) ทิงเจอร์ไฮออสไซยามัส (Hyoscyamus Tincture) หรือทิงเจอร์สะตราโมเนียม (Stramonium Tincture) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่ง ไม่เกินขนาดรับประทานอย่างต่ำสุดของยาเหล่านั้นที่กำหนดไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

     ข. ไฮออสไซยามีนซัลเฟต (Hyoscyamine  Sulphate) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 125 ไมโครกรัม

     ค. อะโทรปีนซัลเฟต (Atropine Sulphate) ที่มีขนาดรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 250 ไมโครกรัม

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(11)

ยาจำพวกสกัดกั้นแอดรีเนอร์ยิค (Adrenergic blocking drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(10)

ยาจำพวกโคลิเนอร์ยิค (Cholinergic drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(9)

ยาจำพวกแอดรีเนอร์ยิค (Adrenergic drugs) ยกเว้น

     ก. ที่ใช้สำหรับหยอดจมูก ตามตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

     ข. เอฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ephedrine hydrochloride) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม ผสมกับทีโอฟิลลีน แอนไฮดรัส (Theophylline anhydrous) ขนาด 60-150 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ด  

       [ปัจจุบันจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2]

     ค. ที่ประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ

     ง. ฟีนิลเอฟรีน (Phehylephrine) ขนาดไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ผสมกับคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม หรือบรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ขนาดไม่เกิน 4 มิลลิกรัม ที่ผลิตขึ้นเป็นยาบรรจุเสร็จชนิดเม็ดหรือแคปซูล

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 17 (19 ส.ค. 45),

ฉบับที่ 24 (16 ก.ย. 54)

(8)

ยาจำพวกแก้ไอ (Antitussive drugs) ยกเว้น ที่ใช้สำหรับขับเสมหะ (Expectorants) 

แก้ไขโดย

ฉบับที่ 4 (8 ส.ค. 30),

ฉบับที่ 20 (2 ส.ค. 50)

(7)

ยาจำพวกแสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหรือหลอดเลือด (Cardiovascular drugs)     

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(6)

ยาจำพวกที่มีผลต่อไขมันในเลือด (Drugs affecting blood lipids) ยกเว้นไนอาซีน (Niacin) ที่มีปริมาณไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ 

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(5)

ยาจำพวกรักษาอาการภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Antiarrhythmic drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(4)

ยาจำพวกดิจิตาลอยด์  (Digitaloid drugs) ยกเว้น สะควิลล์  (Squill) ที่ใช้สำหรับขับเสมหะ

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(3)

ยาจำพวกขยายหลอดเลือดโคโรนารี (Coronary vasodilators) ยกเว้นที่ใช้สำหรับสูดดม

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(2)

ยาจำพวกขยายหลอดเลือดส่วนขอบ (Peripheral vasodilators) ยกเว้น

     ก. ไนอาซิน (Niacin) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อขนาดรับประทานหนึ่งมื้อ

     ข. ยาจำพวกขยายหลอดเลือดที่ใช้เฉพาะกับผิวหนัง

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21

(1)

ยาจำพวกลดความดันเลือด (Hypotensive drugs)

ประกาศ ณ วันที่ 26 พ.ค. 21