8. ตัวอย่างข้อความที่สันนิษฐานได้ว่าไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาตโฆษณาและเข้าข้อห้ามในการโฆษณายา เช่น
6 พฤศจิกายน 2566

  1. ​เพลงโฆษณาเป็นสรรพคุณยา
  2. เสียง / ภาพแสดงที่ถึงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย
  3. โฆษณาโอ้อวดว่ารักษา / ป้องกันได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ / หายขาด เช่น “ยอดเยี่ยม , หายแน่ , วิเศษยิ่ง , ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง”
  4. โฆษณาสรรพคุณยาอันตราย / ยาควบคุมพิเศษ เช่น “รักษาไทรอยด์ , ลดน้ำตาลในเลือด , เป็นยารักษาสิว / ฝ้า , ยากินแก้ปวดท้องน้อย เนื่องจากการอักเสบของท่อปัสสาวะ , ยากินแก้ปวดข้อ ข้อเสื่อม”
  5. โฆษณาแสดงสรรพคุณยาเป็นเท็จ / เกินจริง เช่น “แก้อาการหลงลืม , รักษาโรคเอดส์ , ละลายไขมัน / ลดไขมัน / ลดน้ำตาลในเลือดในการโฆษณายาระบาย , เสริมสมรรถภาพทางเพศในการโฆษณายาบำรุงร่างกาย”
  6. โฆษณาว่าสามารถบรรเทา / บำบัด / รักษา / ป้องกันโรค / อาการโรคที่ห้ามโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปดังนี้ “มะเร็ง , อัมพาต , วัณโรค , โรคเรื้อน , โรค / อาการของโรคสมอง , หัวใจ , ปอด , ตับ , ม้าม , ไต”
  7. โฆษณาว่า “เป็นยาบำรุงกาม / เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ , เป็นยาขับประจำเดือน , ยาคุมกำเนิด”
  8. รับรองยาว่า “ใช้แล้ว หายปวดหลังเลย” / “มีการระบุชื่อผู้ใช้ยา”
  9. โฆษณาโดยการชิงโชค / แจกแถม / ส่งฉลากยาแลกรางวัล
  10. โฆษณาชักชวนให้ใช้ยาเกินจำเป็น / ใช้ประจำ / ซื้อเป็นของฝาก เช่น “กินทุกวันช่วยระบาย ละลายไขมัน / ยานี้จะเป็นของฝากสำหรับคุณแม่”
  11. โฆษณาโดยแสดงข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมาย เช่น “ซื้อยาจากร้านกาแฟ , มีโจรปล้นธนาคาร”
  12. การโฆษณาที่ขัดต่อธรรมเนียมประเพณีไทย / ไม่สุภาพ